วัตถุประสงค์
- เพื่อปรับปรุงและยกระดับห้องปฏิบัติการเคมีที่มีอยู่แล้วให้ได้มาตรฐานในด้านการจัดห้องปฏิบัติการ การบริหารจัดการและความปลอดภัย โดยอยู่ภายใต้กรอบแนวคิดขององค์ประกอบด้านความปลอดภัย 7 ด้าน
- เพื่อส่งเสริมให้เกิดระบบการจัดการความปลอดภัยห้องปฏิบัติการในมหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์
การจัดการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของความปลอดภัย 7 องค์ประกอบที่เชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน [1-5] อันจะนำไปสู่ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ได้แก่
- การบริหารระบบการจัดการความปลอดภัย ในส่วนนี้เกี่ยวข้องกับนโยบายขององค์กร ที่ผู้บริหารขององค์กรต้องให้ความสำคัญในเรื่องของความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ต้องมีการกำหนดถึงวัตถุประสงค์ แผนงานที่ชัดเจนและความมุ่งมั่นขององค์กรในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติงาน โดยต้องเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและการจัดการด้านความปลอดภัย
- ระบบการจัดการสารเคมี ที่ต้องมีระบบการจัดการสารเคมี ที่สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของสาร การจัดเก็บ การเคลื่อนย้าย และรวมถึงการจัดการสารเคมีที่ไมใ่ช้แล้ว ซึ่งการจัดเก็บสารเคมีสามารถแยกเก็บตามความเป็นอันตรายของสารและเก็บตามกลุ่มสารเคมีเพื่อความปลอดภัย ควรมีการจัดเก็บเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet, SDS) ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย [6]
- ระบบการจัดการของเสีย ที่มีการระบบการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งแสดงถึงการจำแนกและการเก็บที่ถูกวิธี หากมีสารเคมีที่รอการกำจัด ต้องมีระบบที่ดีที่ไม่มีการแพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม
- ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ ที่มีอุปกรณ์ และเครื่องมือ ที่เอื้อต่อการทำงานอย่างปลอดภัยทั้งใน ภาวะปกติและฉุกเฉิน ลักษณะของห้องปฏิบัติการที่ดีนอกจากการออกแบบห้องที่ดีที่มีการใช้งานอย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์ได้สูงสุดแล้ว ควรต้องคำนึงถึงเรื่องของความปลอดภัยในการทำงาน และไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งลักษณะทั่วไปของห้องควร
- มีการแบ่งส่วนของพื้นที่ของห้องปฏิบัติการกับส่วนสำนักงานหรือห้องทำงานอย่างชัดเจน
- มีระบบแสงสว่างที่เพียงพอ มีอากาศที่ถ่ายเท ไม่มีการสะสมของสารเคมีในอากาศจนกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
- มีพื้นที่เพียงพอต่อการตัดเก็บสารเคมี เครื่องแก้ว และของเสีย
- มีระบบน้ำทิ้งหรือปล่อยของเสียอย่างถูกต้อง
- ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงจากข้อมูลจริง ที่ประกอบไปด้วย การประเมินความเสี่ยง การระบุความเสี่ยง และการทบทวนความเสี่ยง ทั้งนี้เพื่อสื่อสารให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถเข้าใจถึงพื้นฐานในการตัดสินใจและเหตุผลของการประเมินความเสี่ยงได้
- การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เป็นการช่วยลดการเกิดอันตรายจากพฤติกรรมเสี่ยง โดยให้ความรู้พื้นฐานที่เหมาะสมที่จำเป็น โดยต้องทำอย่างต่อเนื่องต่อ แม้องค์กรหรือหน่วยงานจะมีระบบการบริหารจัดการที่ดีเพียงใดก็ตาม หากผู้ปฏิบัติงานในองค์กรขาด ความรู้และทักษะ ไม่สนใจ ไม่ตะหนักถึงความปลอดภัย ก็ส่งผลให้เกิดอันตรายและความเสียหายต่างๆ ได้
- การจัดการข้อมูลและเอกสาร ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย มีความเป็นปัจจุบัน ทั้งนี้สามารถใช้เป็นหลักฐานบันทึกที่สามารถส่งงานต่อกันได้หากมีการเปลี่ยนผู้รับผิดชอบ และเป็นการต่อยอดของความรู้ในทางปฏิบัติ ให้การพัฒนาความปลอดภัยเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
เอกสารอ้างอิง
- ฉัตรชัย วิริยะไกรกุล การพัฒนาตัวอย่างห้องปฏิบัติการวิจัยปลอดภัยในประเทศไทย จากhttp://www.arch.chula.ac.th/ejournal/files/article/107_20160106153022pdf สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2561
- วราพรรณ ด่านอุตรา และ สุชาตา ชินะจิตร ห้องปฏิบัติการปลอดภัย : จากนโยบายสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย จฬุาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
- วราพรรณ ด่านอุตรา ห้องปฏิบัติการปลอดภัย : เรื่องของใคร : บทสรุปผลการดำเนินงานโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย และสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
- วราพรรณ ด่านอุตรา แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและของเสียอันตราย,
- พรเพ็ญ ก๋ำนารายณ์ ผลการสำรวจชี้บ่งอันตรายและวิเคราะห์ความเสี่ยง ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2558, 23(4), 667-681
- GHS-SDS จาก http://www.chemtrack.org/news.asp?TID=10&FID=3 สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2561